วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561

นักวิจัยพยายามพัฒนาหุ่นยนต์ให้แก้ไขความผิดพลาดในการทำงานด้วยตัวเอง

หุ่นยนต์หลายตัวในโรงงานประกอบรถยนต์ทำงานได้อย่างรวดเร็วกว่าเเละถูกต้องแม่นยำกว่ามนุษย์ เเละไม่เคยต้องหยุดพักอีกด้วย แต่หากทำงานผิดพลาด หุ่นยนต์เหล่านี้จะไม่เข้าใจถึงความผิดพลาด เเละไม่สามารถกลับไปแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้
เฺฮนนี่ แอดโมนี่ รองศาสตราจารย์ด้านหุ่นยนต์ ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน กล่าวว่า การเข้าใจความผิดพลาดและการแก้ไขเป็นงานที่ยากสำหรับหุ่นยนต์ เพราะต้องใช้ข้อมูลบริบทในระดับที่ยังไม่สามารถพัฒนาได้ในหุ่นยนต์
รองศาสตราจารย์แอดโมนี่และทีมงานวิจัยซึ่งเป็นนักศึกษาของเธอ กำลังพยายามโปรแกรมให้หุ่นยนต์ชื่อ Baxter ทดลองทำงานเป็นพนักงานร้านของชำ ทำหน้าที่ช่วยหยิบสินค้าใส่ถุง และทีมงานใช้กล้องถ่ายภาพมาตรฐานร่วมกับกล้องถ่ายภาพเเสงอินฟราเรด เพื่อช่วยให้หุ่นยนต์ Baxter จดจำสิ่งของต่างๆ ได้
รองศาสตราจารย์แอดโมนี่ กล่าวว่า ส่วนที่น่าสนใจมากที่สุดไม่ได้อยู่ที่ความสามารถในการรับรู้เเละเข้าใจในงานที่ทำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หุ่นยนต์สามารถนำข้อมูลที่เข้าใจไปใช้งานด้านเหตุผลอย่างไร
แต่ก็เกิดคำถามว่า ถ้าเช่นนั้นทำไมทีมนักวิจัยจึงไม่รวมเอาความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด เเละวิธีการแก้ไข เข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมหุ่นยนต์เสียตั้งเเต่ต้น
ต่อเรื่องนี้ รองศาสตราจารย์แอดโมนี่กล่าวว่า การรวมเอาข้อผิดพลาดเเละทางแก้เข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ของหุ่นยนต์ไม่มีประสิทธิผลเสมอไปเพราะความผิดพลาดยังมีโอกาสอาจหลุดรอดการทำงานของหุ่นยนต์ไปได้เเละเมื่อเจอกับสถานการณ์ใหม่ หุ่นยนต์ต้องพยายามเข้าใจงานใหม่ตรงหน้า เเละจะต้องตั้งข้อจำกัดใหม่เกี่ยวกับข้อผิดพลาดทั้งหมดอีกครั้ง 
มาถึงขณะนี้ ทีมนักวิจัยกำลังพยายามศึกษาให้เข้าใจว่าหุ่นยนต์นำข้อมูลไปใช้อย่างไร แปลความหมายข้อมูลอย่างไร เพื่อช่วยให้ใช้งานได้ถูกต้องอย่างที่ทีมงานต้องการ

รองศาสตราจารย์แอดโมนี่ กล่าวว่าไ อเดียนี้อาจฟังดูเป็นนามธรรม เพราะขณะที่คนเราทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ แต่หุ่นยนต์ต้องพึ่งระบบการคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อช่วยให้สามารถทำงานได้ตามแบบที่คนเราทำ

โครงการนี้นานสี่ปี และเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยบริกแฮม ยัง (Brigham Young University) มหาวิทยาลัยเทิร์ฟส (Tufts University) และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมสสาชูเซ็ทส์ (University of Massachussetts)
รองศาสตราจารย์ เฺฮนนี่ แอดโมนี่ หัวหน้าทีมนักวิจัย กล่าวว่า ยังต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 10-15 ปี ในการพัฒนาหุ่นยนต์ให้เข้าใจเเละแก้ไขความผิดพลาดของตนเองได้

วิเคราะห์ข่าว : ข้าพเจ้าคิดว่า เป็นสิ่งที่ดีดีที่จะทำให้หุ่นยนต์แก้ไขความผิดพลาดด้วยตนเองได้ เนื่องจากในปัจจุบัน มนุษย์เราใช้หุ่นยนตืในการทำสิ่งต่างๆมากขึ้น ทำให้ความผิดพลาดที่เกิดจากหุ่นยนต์ก็เพิ่มมาด้วย ดังนั้น จึงเป้นสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์หากเราพัฒนาหุ่นยนต์ให้แก้ไขความผิดพลาดในตัวเองได้
ที่มา : https://www.voathai.com/a/tech-slef-assessing-robots/4525210.html

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

พัฒนาสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุดในโลก

.
การแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงแค่ประสิทธิภาพการทำงานสุดล้ำ แต่ยังแข่งกันที่ขนาดของนวัตกรรมใหม่ด้วย ล่าสุดไอบีเอ็ม ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้ประกาศว่า แชมป์ใหม่ที่สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุดในโลกได้กลายเป็นของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อย 

คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กตัวนี้มีขนาด 0.3 มิลลิเมตร เทียบแล้วก็เล็กกว่าเมล็ดข้าว ประกอบด้วยแรม (RAM), โฟโตโวลตาอิกส์ (Photovoltaics) เป็นตัวแปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า มีตัวเก็บประจุ (capacitors) และยังมีตัวประมวลผลพร้อมเครื่องส่งสัญญาณและรับสัญญาณแบบไร้สาย มีเซ็นเซอร์อุณหภูมิที่เที่ยงตรง ให้ความแม่นยำสูงในขณะที่ใช้พลังงานต่ำ ระบบถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นมาก เพื่อไปปรับใช้กับวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้ แต่ทีมวิจัยได้เน้นที่การวัดอุณหภูมิอย่างแม่นยำ เพื่อนำไปช่วยทางการแพทย์โดยเฉพาะการประเมินการรักษาโรคมะเร็ง เนื่องจากตัวเซ็นเซอร์อุณหภูมิจะตรวจสอบความแปรผันของอุณหภูมิภายในเนื้องอกกับเนื้อเยื่อปกติ จะทำให้กำหนดเป้าหมายในการรักษาได้

อย่างไรก็ตาม นักวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาสร้างคอมพิวเตอร์จิ๋วเผยว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะเรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ได้หรือไม่ เพราะคอมพิวเตอร์โดยปกติทั่วไปเมื่อดับเครื่องถอดปลั๊กโปรแกรมและข้อมูลจะยังคงอยู่ในนั้น เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ข้อมูลก็ไม่ได้หายไปไหน แต่สำหรับเจ้าคอมพิวเตอร์จิ๋วจิ๋วนี้เมื่อปิดเครื่อง ก็จะสูญเสียโปรแกรมและข้อมูลทั้งหมดจะหายไป ซึ่งยังต้องพัฒนาต่อให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น.


วิเคราะห์ข่าว : ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจน่าจะเป็นประโยชน์ได้มากในอนาคต เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กตัวนี้ สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมากในทางการแพทย์ แต่ในความคิดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ายังคิดว่าอุปกรณ์ตัวนี้ ไม่สมควรเรียกว่าคอมพิวเตอร์ ข้าพเจ้าคิดว่าควรเรียกเป็นชิ้นส่วนชิปเล็กๆมากกว่า

ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/1325073

สายรัดข้อมือเชื่อมต่อแบบไร้สายเพื่อดูแลสุขภาพ


ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์มากมายต่างพยายามพัฒนาเครื่องมือที่ประยุกต์ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม มาสนองตอบชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่ต้องรับมือกับความเสี่ยงต่างๆจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ส่งผลต่อสุขภาพ ล่าสุด ทีมวิศวกรจากมหาวิทยาลัยรัสเกอร์ส เมืองนิวบรันสวิก รัฐนิวเจอร์ซีย์ ในสหรัฐอเมริกา เผยถึงการพัฒนาสร้างสายรัดข้อมือที่ช่วยติดตามสุขภาพและมลพิษในอากาศที่คนเราต้องเผชิญ

สายรัดข้อมืออัจฉริยะนี้ใช้วัสดุเป็นพลาสติกติดตั้งแผงวงจรที่มีความยืดหยุ่น โดยมีไบโอเซนเซอร์ (biosensor) เครื่องตรวจวัดทางชีวภาพ ออกแบบให้มีลักษณะเป็นช่องหรือท่อบางกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม พร้อมกับฝังขั้วไฟฟ้าสีทองไว้ภายใน แผงวงจรจะเป็นตัวประมวลผลสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งข้อมูลแบบไร้สายกับสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์สวมใส่อื่นๆ เช่น นาฬิกา โดยไบโอเซนเซอร์จะทำหน้าที่นับจำนวนอนุภาคอย่างเซลล์เม็ดเลือด แบคทีเรียและอนุภาคอินทรีย์หรืออนินทรีย์ในอากาศ รวมถึงวัดอัตราการเต้นของหัวใจ การออกกำลังกาย

เทคโนโลยีดังกล่าวจะ ทำให้ผู้ป่วยและแพทย์สามารถติดตามตรวจสอบสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การวินิจฉัยโรคจากการนับจำนวนเม็ดเลือด ซึ่งหากพบจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ นั่นอาจบ่งบอกถึงภาวะเลือดออกภายในและโรคภัยอื่นๆ หรือจำนวนเม็ดเลือดขาวที่สูงหรือต่ำจนผิดปกติ ก็อาจบ่งชี้ถึงโรค มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์ที่มีราคาแพงและมีขนาดใหญ่ในห้องปฏิบัติ


วิเคาระห์ข่าว : ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้มาก เนื่องจาก สายรัดข้อมือสามารถตรวจวัดสภาพอากาศและมลพิษรอบข้างตัวเราได้ ทำให้เราทราบถึงอากาศในวันนั้นว่ามีมลพิษมากน้อยเพียงใด ดังนั้นเราจะสามารถป้องกันตัวเองจากการป่วยได้

ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/1355153

เทคโนโลยีที่ซับซ้อนบน “รอยบาก”


หลังจากใช้ iPhone X มากว่า 6 เดือน จะขอรีวิวการใช้ในฐานะผู้ใช้สมาร์ทโฟนรุ่นนี้ ที่ “แอปเปิล” ออกมาเพื่อฉลองครบรอบ 10 ปี หลังจากนำ “ไอโฟน” บุกตลาดสมาร์โฟนจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมไปทั่วโลก 
ช่วงเปิดตัวผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทางแอปเปิลระบุว่าเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นดีที่สุดเพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย พร้อมกับสโลแกน “สวัสดีอนาคต” จุดเด่นที่สำคัญมากอยากจะหยิบยกมาพูดถึงก็คือกล้อง “TrueDepth” กับนวัตกรรมที่มีเอกลักษณ์ การออกแบบและเทคโนโลยีที่ซับซ้อนที่สุดของแอปเปิล

ในช่วงแรก iPhone X ถูกวิพากษ์วิจารณ์พอสมควรกับการออกแบบที่นำกล้อง TrueDepth ซึ่งเป็นเหมือนรอยแหว่งหรือรอยบากไปไว้ข้างบนหน้าจอ ซึ่งดูแล้วมันขัดๆตาชอบกล แต่จนถึงปัจจุบันสมาร์ทโฟนที่วางตลาดซึ่งล้วนแต่เป็นสมาร์ทโฟนเรือธงที่เจาะตลาดพรีเมียมมากมายหลายรุ่นได้เดินตามคือมีรอยบากอยู่ด้านบนของจอเรียกว่าเป็นเทรนด์ของตลาดก็ไม่ผิดนัก

เริ่มจาก Face ID เป็นคุณสมบัติความปลอดภัยใหม่ โดยนำเอาเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าจากกล้องดังกล่าวมาประมวลผลเพื่อยืนยันตัวบุคคล เข้ามาแทน Touch ID วิธีการยืนยันตัวบุคคลด้วยลายนิ้วมือ เพียงแค่มองหน้าจอก็ปลดล็อก ได้ทันที และยังใช้ยืนยันการ สั่งซื้อ iTunes Store, App Store รวมไปถึงการเข้าไปใช้งานแอปพลิเคชันอื่นๆ ของไทยได้มากมายได้ ไม่ว่าจะเป็นสายการบิน, ธนาคาร หรือซื้อขายหุ้น

ทางด้านใช้งานกล้อง iPhone X ใช้ประโยชน์ได้จากคุณสมบัติ Portrait Lighting ซึ่งเป็นการถ่ายภาพบุคคลหน้าชัดหลังเบลอ เพิ่มมิติใหม่ให้กับภาพถ่ายบุคคลใน 5 สภาวะแสงใหม่คือ แสงไฟธรรมชาติ, แสงไฟสตูดิโอ, แสงไฟคอนทัวร์, แสงไฟเวที และแสงไฟเวทีขาวดำ รวมทั้งถ่ายภาพแบบ Selfie Portrait Lighting ถ่ายเซลฟี่แบบหน้าชัดหลังเบลอใน 5 สภาวะแสงใหม่เช่นกัน


ขณะเดียวกัน กล้อง TrueDepth ยังให้ความสนุกสนานกับการใช้ Animoji ให้กล้องจับการเคลื่อนไหวของใบหน้าผู้ใช้งาน โดยตัวการ์ตูนและอิโมจิเคลื่อนไหวไปตามการขยับใบหน้า เช่น ยิ้ม ยักคิ้วสื่ออารมณ์ต่างๆ และแชร์ผ่าน iMessage ระหว่างอุปกรณ์ iOS และ Mac ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ส่งผ่าน MMS รวมทั้งการส่งเป็นสติกเกอร์


สำหรับแอปพลิเคชัน Clips ที่สร้างสรรค์และแชร์วิดีโอสนุกๆ พร้อมใส่ข้อความเอฟเฟกต์ กราฟิก และอีกมากมาย มาพร้อมกับ Selfie Scene หรือฉากเซลฟี่เพื่อการถ่ายเซลฟี่แบบ 360 องศาที่สมจริง และเสมือนเข้าในฉากจำลองในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars

วิเคราะห์ข่าว : ข้าพเจ้าคิดว่า เป็นสิ่งที่ดี แม้จะเป็นการออกแบบที่ดูขัดตาเล็กน้อย แต่ก็แลกมาด้วย
นวัตกรรมใหม่ๆ หรือการอำนวยความสะดวกๆหลายๆอย่า่ง ในด้านการถ่ายรูป ก็ได้รูปที่สวยและมีหลายสภาวะมากขึ้น โดยรวมแล้วข้าพเจ้าถือว่าเป็นสิ่งทีคุ้มค่า

ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/1292027